วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2568
ชื่อหลักสูตร
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Science and Mathematics Education
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.ม. (วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษา)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Science (Science and Mathematics Education)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M.Sc. (Science and Mathematics Education)
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
- หลักสูตรภาคปกติ (จันทร์ - ศุกร์) ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย 2 ปี x 2 ภาคการศึกษา x 25,000 บาท (ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 100,000 บาท)
- หลักสูตรภาคพิเศษ (ภาคฤดูร้อน) ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย 3 ปี x 1 ภาคการศึกษา x 40,000 บาท (ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 120,000 บาท)
ความสำคัญของหลักสูตร
บุคลากรทางวิทยาศาสตร์ศึกษาที่มีคุณภาพจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งด้านความรู้ ทางวิชาการ การจัดการเรียนรู้หรือการถ่ายทอดความรู้ การพัฒนาและประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการสนับสนุนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการประยุกต์ใช้งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษาในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษได้ ตลอดจนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะจำเป็นสำหรับอนาคต ดังนั้น หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ผลิตมหาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาที่มีศักยภาพ อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเยาวชนในระดับโรงเรียน วิทยาลัยและสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งเยาวชนเหล่านี้จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้วิทยาศาสตร์ศึกษาหรือคณิตศาสตร์ศึกษา มีความคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา ประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พัฒนาตนเองด้านวิชาการและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อสังคม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
- ออกแบบและจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์เชิงรุกที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริงได้
- บูรณาการความรู้เนื้อหาผนวกศาสตร์การสอนและเทคโนโลยี (TPACK) และปัญญาประดิษฐ์ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ได้
- สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนได้
- แสดงออกถึงการมีภาวะผู้นำ ทักษะในการทำงานเป็นทีม คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 ออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ตามหลักการบูรณาการความรู้เนื้อหาผนวกศาสตร์การสอนและเทคโนโลยี (TPACK) โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
- PLO2 จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ที่เสริมด้วยปัญญาประดิษฐ์และประเมินตามสภาพจริงได้สอดคล้องกับบริบทของชั้นเรียน
- PLO3 ผลิตสื่อและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ศึกษาหรือคณิตศาสตร์ศึกษาสำหรับการคิดขั้นสูงของผู้เรียนได้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
- PLO4 พัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษาหรือคณิตศาสตร์ศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพครูและจริยธรรมการวิจัย
- PLO5 พัฒนาตนเองด้านวิชาการและวิชาชีพครูได้สอดคล้องกับบริบทของสังคม
- PLO6 ทำงานเป็นทีมและแสดงออกถึงการมีภาวะผู้นำในการพัฒนาการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
- PLO7 ปฏิบัติหน้าที่ครูได้เหมาะสมตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูและบริบทของสังคม
ช่องทางการติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
1) เพจหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ
https://www.facebook.com/grad.school.sci.ubu
2) Facebook: UBU Science & Math Education
https://www.facebook.com/UBUSciMathEd
หลังสำเร็จการศึกษา มหาบัณฑิตสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
1) ครูวิทยาศาสตร์หรือครูคณิตศาสตร์
2) นักวิชาการศึกษา
3) ผู้ประกอบการสถานศึกษาเอกชน
4) นักวิจัยทางการศึกษา
5) ผู้สอนในสถาบันกวดวิชา
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
แผน 1 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา/จำนวนหน่วยกิจ | แผน ก แบบ ก2 | |
---|---|---|
1.หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 24 หน่วยกิจ |
1.1 กลุ่มวิชาพื้นฐาน | 12 หน่วยกิจ | |
1.2 กลุ่มวิชาบังคับ | 9 หน่วยกิจ | |
1.3 กลุ่มวิชาเลือก | ไม่น้อยกว่า | 3 หน่วยกิจ |
2.หมวดวิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิจ | |
จำนวนหน่วยกิจรวม | ไม่น้อยกว่า | 36 หน่วยกิจ |
ช่องทางการติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
1) เพจหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ
https://www.facebook.com/grad.school.sci.ubu
2) กลุ่มเฟสบุ๊ค: PhD.SciEd@UBU
www.facebook.com/groups/msc.sciedu.ubu/
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ผน ก แบบ ก2 มีรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้
1. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า | 36 หน่วยกิต | |
1.1 กลุ่มวิชาแกน | 12 หน่วยกิต | |
1151 801 |
การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 |
3(2-2-8) |
1151 802 |
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษา
(Artificial Intelligence Technology for Science and Mathematics Education) |
3(2-2-8) |
1151 803 |
ภาษาอังกฤษสำหรับครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
(English for Science and Mathematics Teachers) |
2(1-2-5) |
1151 804 | ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา (Research Methodology in Science Education) |
3(2-2-8) |
1151 805 | สัมมนาด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา (Seminar in Science Education) |
1(0-2-2) |
1.2 กลุ่มวิชาบังคับ | 9 หน่วยกิต | |
นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จำนวน 9 หน่วยกิต ดังนี้ | ||
1.2.1 กลุ่มวิชาชีววิทยา | ||
1151 811 |
การจัดการเรียนรู้ชีววิทยาสำหรับการคิดขั้นสูง
(Learning Management of Biology for Higher-Order Thinking) |
3(2-2-8) |
1151 812 | ชีววิทยาร่วมสมัย (Contemporary Biology) | 3(3-0-9) |
1151 813 | ชีววิทยากับการแก้ปัญหา (Biology and Problem Solving) | 3(3-0-9) |
1.2.2 กลุ่มวิชาเคมี | ||
1151 821 |
การจัดการเรียนรู้เคมีสำหรับการคิดขั้นสูง
(Learning Management of Chemistry for Higher-Order Thinking) |
3(2-2-8) |
1151 822 | เคมีร่วมสมัย (Contemporary Chemistry) | 3(3-0-9) |
1151 823 | เคมีกับการแก้ปัญหา (Chemistry and Problem Solving) | 3(3-0-9) |
1.2.3 กลุ่มวิชาฟิสิกส์ | ||
1151 831 |
การจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์สำหรับการคิดขั้นสูง
(Learning Management of Physics for Higher-Order Thinking) |
3(2-2-8) |
1151 832 | ฟิสิกส์ร่วมสมัย (Contemporary Physics) | 3(3-0-9) |
1151 833 | ฟิสิกส์กับการแก้ปัญหา (Physics and Problem Solving) | 3(3-0-9) |
1.2.4 กลุ่มวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ | ||
1151 841 |
การจัดการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับการคิดขั้นสูง
(Learning Management of Computer Science for Higher-Order Thinking) |
3(2-2-8) |
1151 842 | วิทยาการคอมพิวเตอร์ร่วมสมัย (Contemporary Computer Science) | 3(3-0-9) |
1151 843 | วิทยาการคอมพิวเตอร์กับการแก้ปัญหา (Computer Science and Problem Solving) | 3(3-0-9) |
1.2.5 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ | ||
1151 851 |
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับการคิดขั้นสูง
(Learning Management of Science for Higher-Order Thinking) |
3(2-2-8) |
1151 852 | วิทยาศาสตร์ร่วมสมัย (Contemporary Science) | 3(3-0-9) |
1151 853 | วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา (Science and Problem Solving) | 3(3-0-9) |
1.2.6 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ | ||
1151 861 |
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับการคิดขั้นสูง
(Learning Management of Mathematics for Higher-Order Thinking) |
3(2-2-8) |
1151 862 | คณิตศาสตร์ร่วมสมัย (Contemporary Mathematics) | 3(3-0-9) |
1151 863 | คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหา (Mathematics and Problem Solving) | 3(3-0-9) |
1.2 กลุ่มวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 หน่วยกิต | |
1151 871 | สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Science Learning Media) |
3(3-0-9) |
1151 872 | วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ (Earth Science System) |
3(3-0-9) |
1151 873 |
หัวข้อคัดสรรทางชีววิทยาสำหรับครู
(Selected Topics in Biology for Teachers)
|
3(3-0-9) |
1151 874 |
หัวข้อคัดสรรทางเคมีสำหรับครู
(Selected Topics in Chemistry for Teachers)
|
3(3-0-9) |
1151 875 |
หัวข้อคัดสรรทางฟิสิกส์สำหรับครู
(Selected Topics in Physics for Teachers)
|
3(3-0-9) |
1151 876 |
หัวข้อคัดสรรทางวิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับครู
(Selected Topics in Computer Science for Teachers)
|
3(3-0-9) |
1151 877 |
หัวข้อคัดสรรทางวิทยาศาสตร์สำหรับครู
(Selected Topics in Science for Teachers)
|
3(3-0-9) |
1151 878 |
หัวข้อคัดสรรทางคณิตศาสตร์สำหรับครู
(Selected Topics in Mathematics for Teachers)
|
3(3-0-9) |
2. หมวดวิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | |
1151 891 | วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 12 หน่วยกิต |
ช่องทางการติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
1) เพจหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ
https://www.facebook.com/grad.school.sci.ubu
2) กลุ่มเฟสบุ๊ค: PhD.SciEd@UBU
www.facebook.com/groups/msc.sciedu.ubu/
หลักสูตรฯ จัดแผนการศึกษา 2 แบบ ได้แก่ แบบปกติ และแบบพิเศษ ดังนี้
แผนการศึกษาแบบปกติ
จัดการศึกษาเฉพาะแผน 1 แบบวิชาการ โดยจัดการศึกษา ปีการศึกษาละ 2 ภาคการศึกษา รวมระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา หรือ 4 ภาคการศึกษา มีรายละเอียดของการลงทะเบียนรายวิชาในแต่ละครั้ง ดังนี้
ชั้นปีที่ 1 (First Year) ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา |
รหัสและชื่อวิชา |
หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาแกน |
1151 801 การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 (Innovative Learning Design for Science and Mathematics in the 21st Century) |
3(2-2-8) |
1151 802 เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษา (Artificial Intelligence Technology for Science and Mathematics Education) |
3(2-2-8) |
|
1151 804 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษา (Research Methodology in Science and Mathematics Education) |
3(2-2-8) |
|
รวม (Total) |
9 |
ชั้นปีที่ 1 (First Year) ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา |
รหัสและชื่อวิชา |
หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาแกน |
1151 803 ภาษาอังกฤษสำหรับครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (English for Science and Mathematics Teachers) |
2(1-2-5) |
1151 805 สัมมนาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษา (Seminar in Science and Mathematics Education) |
1(0-2-2) |
|
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาบังคับ |
1151 8X1 รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ |
3 |
หมวดวิทยานิพนธ์ |
1151 891 วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
2 |
รวม (Total) |
8 |
ชั้นปีที่ 2 (Second Year) ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา |
รหัสและชื่อวิชา |
หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาบังคับ |
1151 8X2 รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ |
3 |
1151 8X3 รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ |
3 |
|
หมวดวิทยานิพนธ์ |
1151 891 วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
4 |
รวม (Total) |
10 |
ชั้นปีที่ 2 (Second Year) ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา |
รหัสและชื่อวิชา |
หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเลือก |
1151 88X รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก |
3 |
หมวดวิทยานิพนธ์ |
1151 891 วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
6 |
รวม (Total) |
9 |
แผนการศึกษาแบบพิเศษ
จัดการศึกษาทั้งแผน 1 แบบวิชาการ โดยจัดการศึกษาปีการศึกษาละ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 3 ปีการศึกษา มีรายละเอียดของการลงทะเบียนรายวิชา ดังนี้
ชั้นปีที่ 1 (First Year) ครั้งที่ 1
หมวดวิชา |
รหัสและชื่อวิชา |
หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
หมวดวิชาเฉพาะ |
1151 801 การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 (Innovative Learning Design for Science and Mathematics in the 21st Century) |
3(2-2-8) |
1151 802 เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษา (Artificial Intelligence Technology for Science and Mathematics Education) |
3(2-2-8) |
|
1151 804 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษา (Research Methodology in Science and Mathematics Education) |
3(2-2-8) |
|
หมวดวิทยานิพนธ์ |
1151 891 วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
2 |
รวม (Total) |
11 |
ชั้นปีที่ 2 (Second Year) ครั้งที่ 2
หมวดวิชา |
รหัสและชื่อวิชา |
หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
หมวดวิชาเฉพาะ |
1151 803 ภาษาอังกฤษสำหรับครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (English for Science and Mathematics Teachers) |
2(1-2-5) |
1151 805 สัมมนาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษา (Seminar in Science and Mathematics Education) |
1(0-2-2) |
|
หมวดวิชาเฉพาะ |
1151 8X1 รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ |
3 |
1151 8X2 รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ |
3 |
|
หมวดวิทยานิพนธ์ |
1151 891 วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
4 |
รวม (Total) |
13 |
ชั้นปีที่ 3 (Third Year) ครั้งที่ 3
หมวดวิชา |
รหัสและชื่อวิชา |
หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
||||||
หมวดวิชาเฉพาะ |
1151 8X3 รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ |
3 |
||||||
หมวดวิชาเฉพาะ |
1151 87x รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก |
3 |
||||||
หมวดวิทยานิพนธ์ |
1151 891 วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 1.1 ความสำคัญของหลักสูตร บุคลากรทางวิทยาศาสตร์ศึกษาที่มีคุณภาพจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งด้านความรู้ทางวิชาการ การจัดการเรียนรู้หรือการถ่ายทอดความรู้ การใช้และการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในการสนับสนุนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา และการประยุกต์ใช้งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา กอรปกับในปัจจุบันจำนวนของนักเรียนที่เลือกเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ลดน้อยลง ครูจึงจำเป็นที่ต้องสอนให้เด็กเห็นถึงประโยชน์ของวิทยาศาสตร์โดยผ่านการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องสนับสนุนการเปิดประชาคมอาเซียนและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยการพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพในระดับชาติ สามารถสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษได้ ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์จึงเสนอหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558 เพื่อผลิตมหาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาที่มีศักยภาพ อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเยาวชนในระดับโรงเรียน วิทยาลัย และสถาบันการศึกษาอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเยาวชนเหล่านี้จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต 1.2 ปรัชญาของหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ลึกซึ้งในเนื้อหา ทักษะและเจตคติที่ดีทางวิทยาศาสตร์ มีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทำวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยเน้นทักษะและกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบท มีศักยภาพในการสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ พัฒนาตนเองด้านการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม 1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว มหาบัณฑิตจะเป็นผู้มีสมรรถนะ ดังนี้ 1. มีความรู้ในเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษาที่ถูกต้อง ทันสมัย และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยและการทำงานในวิชาชีพได้ 2. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3. ศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน 4. ตระหนักถึงความสำคัญและมีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสมกับบริบทและเนื้อหา 5. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และการวิจัย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม -->อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนรศ.ดร.สุระ วุฒิพรหม ( ประธานหลักสูตร )
|