วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฟิสิกส์วัสดุและชีวการแพทย์ 


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฟิสิกส์วัสดุและชีวการแพทย์
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Materials and Biomedical Physics

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ฟิสิกส์วัสดุและชีวการแพทย์)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.ม. (ฟิสิกส์วัสดุและชีวการแพทย์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Science (Materials and Biomedical Physics)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M.Sc. (Materials and Biomedical Physics)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท

ความสำคัญ ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีทักษะในการคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผลตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมทางด้านฟิสิกส์วัสดุและชีวการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ      มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างศักยภาพของตนเองและสังคม  มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีคุณธรรมและจริยธรรม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1.  อาจารย์หรือนักวิชาการหรือบุคลากรในสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน 

2.  นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ในหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน

3.  นักนิติวิทยาศาสตร์

4.  นักควบคุมคุณภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรม

5.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค/ที่ปรึกษาฝ่ายขายสินค้า

 

จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างหลักสูตร

1. จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร            แผน ก แบบ ก2  ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

2. โครงสร้างหลักสูตร ดังนี้  

หมวดวิชา/จำนวนหน่วยกิต

แผน ก แบบ ก2

1. หมวดวิชาเฉพาะ 

ไม่น้อยกว่า

24 หน่วยกิต

1.1 กลุ่มวิชาบังคับ 

จำนวน

12

1.2 กลุ่มวิชาเลือก

ไม่น้อยกว่า

12

2. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

        จำนวน

12

จำนวนหน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า

36 หน่วยกิต

 

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์วัสดุและชีวการแพทย์ มีรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้ 

แผน ก แบบ ก 2 

1.  หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 24  หน่วยกิต

1.1 กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 12  หน่วยกิต

1131 801 กลศาสตร์คลาสสิก (Classical Mechanics)

3(3-0-9)

1131 802 กลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics)

3(3-0-9)

1131 803 ไฟฟ้าพลศาสตร์คลาสสิก (Classical Electrodynamics)

3(3-0-9)

1131 804 ระเบียบวิธีวิจัยทางฟิสิกส์ (Research Methods in Physics )

1(1-0-3)

1131 891 สัมมนา 1 (Seminar I)

1 หน่วยกิต

1131 892 สัมมนา 2 (Seminar II)

1 หน่วยกิต

 

1.2 กลุ่มวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

นักศึกษาสามารถเลือกรายวิชาแบบคละกลุ่มได้รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ที่สอดคล้องกับขอบเขตความเชี่ยวชาญในงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

1.2.1 กลุ่มวิชาฟิสิกส์ทฤษฎี

 

1131 821 ฟิสิกส์ของแข็ง (Solid State Physics)

3(3-0-9)

1131 822 อุณหพลศาสตร์และกลศาสตร์ของไหล 

(Thermodynamics and Fluid Mechanics)

3(3-0-9)

1131 823 ฟิสิกส์เชิงคำนวณ (Computational Physics)

3(3-0-9)

1131 824 วิธีทางคณิตศาสตร์สำหรับฟิสิกส์ (Mathematical Methods for Physics)

3(3-0-9)

1131 825 การจำลองแบบโมเลกุลและเทคนิคการคำนวณในทางเคมีฟิสิกส์  

(Molecular Modeling and Computation Technique in Chemical Physics)

3(3-0-9)

1.2.2 กลุ่มวิชาฟิสิกส์วัสดุ

 

1131 841 วัสดุศาสตร์และสมบัติของวัสดุ (Materials Sciences and Properties)

3(3-0-9)

1131 842 การหาลักษณะเฉพาะของวัสดุ (Characterizations of Materials)

3(2-2-8)

1131 843 ฟิสิกส์ของสารกึ่งตัวนำ (Physics of Semiconductors)

3(3-0-9)

1131 844 นาโนฟิสิกส์ (Nanophysics)

3(3-0-9)

1131 845 ฟิสิกส์รังสี (Radiation Physics)

3(3-0-9)

1131 846 วิทยาศาสตร์ของแก้ว (Glass Science)

3(3-0-9)

1131 847 หัวข้อคัดสรรทางฟิสิกส์วัสดุ 1 (Selected Topics in Materials Physics I)

3(3-0-9)

1131 848 หัวข้อคัดสรรทางฟิสิกส์วัสดุ 2 (Selected Topics in Materials Physics II)

3(3-0-9)

1.2.3 กลุ่มวิชาฟิสิกส์ชีวการแพทย์

 

1131 861 อิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์และเซนเซอร์ (Applied Electronics and Sensors)

3(2-2-8)

1131 862 เทคโนโลยีเลเซอร์ (Laser Technology)

3(3-0-9)

1131 863 เทคโนโลยีการสร้างภาพทางการแพทย์ (Medical Imaging Technology)

3(3-0-9)

1131 864 รังสีทางฟิสิกส์ชีวการแพทย์ (Radiation in Biomedical Physics)

3(3-0-9)

1131 865 การประยุกต์ทางนิวเคลียร์ (Nuclear Applications)

3(3-0-9)

1131 866 หัวข้อคัดสรรทางฟิสิกส์ชีวการแพทย์ 1 

              (Selected Topics in Biomedical Physics I)

3(3-0-9)

1131 867 หัวข้อคัดสรรทางฟิสิกส์ชีวการแพทย์ 2 

              (Selected Topics in Biomedical Physics II)

3(3-0-9)

 

2. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์         จำนวน 12 หน่วยกิต

1131 890 วิทยานิพนธ์ (Thesis)

12     หน่วยกิต



แผนการศึกษา

แผนการศึกษา (แผน ก แบบ ก2) 

 

ปีที่  1  (First Year)

ภาคการศึกษาต้น  (First Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อวิชา

หน่วยกิต 

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาบังคับ

1131 801 กลศาสตร์คลาสสิก 

              (Classical Mechanics)

3(3-0-9)

1131 802 กลศาสตร์ควอนตัม 

              (Quantum Mechanics)

3(3-0-9)

1131 803 ไฟฟ้าพลศาสตร์คลาสสิก

              (Classical Electrodynamics)

3(3-0-9)

1131 804 ระเบียบวิธีวิจัยทางฟิสิกส์                           

             (Research Methods in Physics)

1(1-0-3)

รวม (Total)

10 หน่วยกิต



ภาคการศึกษาปลาย  (Second Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อวิชา

หน่วยกิต 

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาบังคับ

1131 891 สัมมนา 1 (Seminar I)

1  

หมวดวิชาเฉพาะ

 กลุ่มวิชาเลือก

1131 8XX รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก 1 (Elective I)

3  

1131 8XX รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก 2 (Elective II)

3  

หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

1131 890 วิทยานิพนธ์ (Thesis)

3  

รวม (Total)

10 หน่วยกิต

 

 

ปีที่  2  (Second Year)

ภาคการศึกษาต้น  (First Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อวิชา

หน่วยกิต 

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาบังคับ

1131 892 สัมมนา 2 (Seminar II)

หมวดวิชาเฉพาะ

กลุ่มวิชาเลือก

1131 8XX รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก 3 

               (Elective III)

1131 8XX รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก 4 

               (Elective IV)

หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

1131 890 วิทยานิพนธ์ (Thesis)

รวม (Total)

10 หน่วยกิต

 

ภาคการศึกษาปลาย  (Second Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อวิชา

หน่วยกิต 

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

1131 890 วิทยานิพนธ์ (Thesis)

รวม (Total)

6 หน่วยกิต

เอกสารเพิ่มเติม

  มคอ2-วทม-หลักสูตรปรับปรุง-พ_ศ_-2565.pdf  อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา-พ_ศ_-2563.pdf

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

  ผศ.ดร.กาญจนา ศิวเลิศพร ( ประธานหลักสูตร )

Research Overview
Research Overview

1. การประยุกต์ใช้รังสี การวัดปริมาณรังสีด้วยเทคนิค TLD

2. วัสดุแก้ว สำหรับกำบังรังสี

3. วัสดุแก้วสำหรับใช้เป็นแก้ว LED