วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุ 


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุ
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Innovative Materials Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุ)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ. (นวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุ)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Innovative Materials Technology)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Innovative Materials Technology)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

13,000 บาท

ความสำคัญ ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

IMT POSTER 2023 โดย Kanjana Ongkasin

 

 

ความสำคัญของหลักสูตร

การพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model) สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง จำเป็นต้องอาศัยความก้าวหน้าของวิทยาการและบุคลากรด้านวัสดุศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวัสดุชีวการแพทย์ วัสดุพลังงาน วัสดุเซนเซอร์และนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อวัสดุท้องถิ่นที่ยั่งยืน ดังนั้น การจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุจึงมีบทบาทสำคัญต่อการผลิตงานวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุตลอดจนผลิตบุคลากรที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคตที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงต่อไป

 

 

ปรัชญาของหลักสูตร 

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุสามารถคิดวิเคราะห์ คิดริเริ่มและแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้และการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บูรณาการองค์ความรู้เพื่อผลิตผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการและเพิ่มมูลค่าของวัสดุท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีทักษะทางสังคม (Soft Skills) มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการทำงานและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตจะมีสมรรถนะดังต่อไปนี้

  1. สามารถบูรณาการองค์ความรู้ในการผลิตผลงานและสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากวัสดุท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าของวัสดุท้องถิ่น
  2. สามารถใช้องค์ความรู้ภาคทฤษฎีและทักษะภาคปฏิบัติในการทำงานและเรียนรู้ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุด้วยตนเองตลอดเวลา
  3. สามารถคิดวิเคราะห์ คิดริเริ่มและแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับวัสดุร่วมกับสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับวัสดุชีวการแพทย์ วัสดุพลังงาน วัสดุเซนเซอร์และนวัตกรรมวัสดุท้องถิ่น โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ
  4. สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและทักษะทางสังคมในการทำงานและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตลอดชีวิตและเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  • นักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  • นักวิจัยพัฒนาวัสดุทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  • เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิตวัสดุ
  • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการผลิตวัสดุ
  • เจ้าหน้าที่ประกันและควบคุณคุณภาพวัสดุ
  • เจ้าหน้าที่ทดสอบวัสดุ
  • ผู้ประกอบการนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุ
จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างหลักสูตร

FEZw9e.jpg

 FEcvX1.jpg

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร
แผนการศึกษา

เอกสารเพิ่มเติม

  แผนการศึกษา_วท_บ__(นวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุ).pdf  รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร_IMT.pdf

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

  ผศ.ดร.อ้อฤทัย ใจบุญ ( ประธานหลักสูตร )

Research Overview

Development of Nuclear Radiation Shielding materials
Development of long-range data transmission to support radiation detection system
Fabrication of Carbon Fiber Reinforced Polymer (CFRP)
Applications of Carbon Nanotube- and Graphene-based materials

Research Overview

Atomistic tight-binding theory in semiconductor nanostructures

Density function theory in dilute magnetic semiconductors

Research Overview

Superadsorbent polymers, Hydrogels, Biodegradable Materials, Slow released fertilizer, metal and dye removal.

Research Overview

nanomaterials

Magnetic materials for bioapplications