วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเคมี 


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเคมี
ภาษาอังกฤษ : Masterof Science Program in Chemistry

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เคมี)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.ม.(เคมี)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Science (Chemistry)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M.Sc.(Chemistry)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท (ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 100,000 บาท)

ความสำคัญ ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ความสำคัญของหลักสูตร

ปัจจุบันประเทศไทยและกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้มีการขยายตัวและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาด้านเคมี เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาประเทศและการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน ดังนั้นจึงเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการและการวิจัยในสาขาวิชาเคมีทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถค้นคว้า ริเริ่มและสร้างสรรค์ให้เกิดผลงานวิจัย รู้จักคิดวิเคราะห์ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีระบบ รวมถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้หน่วยงานหรือกิจการตัวเองเพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี มุ่งเน้นผลิตนักวิชาการและนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาเคมี มีคุณธรรมในการดำรงชีวิต สามารถพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาอย่างต่อเนื่องหรือนำองค์ความรู้ที่มีสร้างผลิตภัณฑ์หรือกิจการของตัวเอง เสริมสร้างศักยภาพของตนเองและสังคม และสนองตอบความต้องการด้านกำลังคนทางวิทยาศาสตร์ของประเทศ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตจะมีความรู้ความสามารถ ดังนี้

  • มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
  • มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติในระดับสูงขึ้น สามารถประยุกต์ความรู้ทางเคมีเพื่อสร้างผลงานวิจัยและสามารถถ่ายทอดความรู้โดยใช้ทักษะการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ผู้อื่นทราบได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
  • ใช้เครื่องมือทางเคมีและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อื่นๆเพื่อการวิจัยขั้นสูงและประยุกต์ใช้งานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
  • มีมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อเพื่อนร่วมงาน เป็นผู้นำ ทำงานเป็นทีมได้ และมีความรับผิดชอบ
  • มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  2. นักวิจัย หรือ นักวิชาการ ในสถานประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  3. ที่ปรึกษางานวิชาการในสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการทั้งเอกชนและหน่วยงานรัฐทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
  4. ประกอบอาชีพอิสระด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี แผน ก แบบ ก 2 ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 2 ปีการศึกษาและไม่เกิน 5 ปีการศึกษา

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ดังนี้ 

1) แผน กแบบ ก 2  จำนวน  ไม่น้อยกว่า 36   หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร  ดังนี้  

. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 15 หน่วยกิต

1) กลุ่มวิชาพื้นฐาน จำนวน     6 หน่วยกิต

2) กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 9 หน่วยกิต

ข. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

. หมวดวิทยานิพนธ์ จำนวน 15 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี แผน ก แบบ ก 2 มีรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

ก.หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 15 หน่วยกิต

1) กลุ่มวิชาพื้นฐาน จำนวน 6 หน่วยกิต
1121 751 สัมมนา 1 (Seminar I) 1(0-2-2)
1121 752 สัมมนา 2 (Seminar II) 1(0-2-2)
1121 753 ระเบียบวิธีวิจัยทางเคมี (Research Methodology in Chemistry) 2(2-0-6)
1121 754 ความปลอดภัยทางเคมีและการจัดการความเสี่ยง(Chemical Safety and Risk Management) 2(2-0-6)

2) กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 9 หน่วยกิต
ให้นักศึกษาเลือกเรียนรายวิชาจากกลุ่มวิชาเดียวกันจำนวน 9 หน่วยกิต หรือเลือกเรียนรายวิชาจากกลุ่มวิชาเดียวกันจำนวน 6 หน่วยกิตและจากกลุ่มวิชาอื่นเพิ่มอีกจำนวน 3 หน่วยกิต

2.1) กลุ่มวิชาเคมีอินทรีย์
1121 711 เคมีอินทรีย์ขั้นสูง (Advanced Organic Chemistry) 3(3-0-9)
1121 712 ปฏิกิริยาทันสมัยในอินทรีย์สังเคราะห์(Modern Organic Synthetic Reactions) 3(3-0-9)
1121 713 สเปกโทรสโกปีขั้นสูงในเคมีอินทรีย์(Advanced Spectroscopy in Organic Chemistry) 3(3-0-9)
1121 714 เคมีของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Chemistry of Natural Products) 3(3-0-9)

2.2) กลุ่มวิชาเคมีเชิงฟิสิกส์
1121 721 กลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) 3(3-0-9)
1121 722 เคมีเชิงฟิสิกส์ขั้นสูง 1 (Advanced Physical Chemistry I) 3(3-0-9)
1121 723 เคมีเชิงฟิสิกส์ขั้นสูง 2 (Advanced Physical Chemistry II) 3(3-0-9)
1121 724 วิธีทางคณิตศาสตร์สำหรับเคมีเชิงฟิสิกส์(Mathematical Methods for Physical Chemistry) 3(3-0-9)

2.3) กลุ่มวิชาเคมีวิเคราะห์
1121 731 เทคนิคทางเคมีวิเคราะห์ (Techniques in Analytical Chemistry) 3(3-0-9)
1121 732 วิธีทางสเปกโทรสโกปีขั้นสูงสำหรับการวิเคราะห์ทางเคมี(Advanced Spectroscopic Methods for Chemical Analysis) 3(3-0-9)
1121 733 เทคนิคการแยกขั้นสูง (Advanced Separation Techniques) 3(3-0-9)
1121 734 การออกแบบวิธีวิเคราะห์เพื่องานวิจัย(Design of Analytical Method for Research) 3(3-0-9)

2.4) กลุ่มวิชาเคมีอนินทรีย์
1121 741 เคมีอนินทรีย์ขั้นสูง 1 (Advanced Inorganic Chemistry I) 3(3-0-9)
1121 742 เคมีอนินทรีย์ขั้นสูง 2 (Advanced Inorganic Chemistry II) 3(3-0-9)
1121 743 เคมีของสารออร์แกโนเมททัลลิก(Chemistry of Organometallic Compounds) 3(3-0-9)

ข. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

1121 811 เคมีของสารเฮทเทอโรไซคลิก (Heterocyclic Chemistry) 2(2-0-6)
1121 812 ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก (Pericyclic Reaction) 2(2-0-6)
1121 813 หัวข้อพิเศษทางเคมีอินทรีย์ 1(Special Topics in Organic Chemistry I) 2(2-0-6)
1121 814 หัวข้อพิเศษทางเคมีอินทรีย์ 2(Special Topics in Organic Chemistry II) 2(2-0-6)
1121 821 ทฤษฎีกลุ่มและหลักการสมมาตร(Group Theory and Symmetry Principles) 3(3-0-9)
1121 822 เคมีเชิงฟิสิกส์ของพอลิเมอร์ (Physical Chemistry of Polymers) 3(3-0-9)
1121 823 นาโนเทคโนโลยีและเส้นใยนาโนพอลิเมอร์(Nanotechnology and Polymer Nanofibers) 2(2-0-6)
1121 824 พอลิเมอร์ผสมและพอลิเมอร์นาโนคอมพอสิท(Polymer Blends and Polymer Nanocomposites) 2(2-0-6)
1121 825 เคมีไฟฟ้าในเคมีเชิงฟิสิกส์(Electrochemistry in Physical Chemistry) 3(3-0-9)
1121 826 เคมีคำนวณขั้นสูง (Advanced Computational Chemistry) 3(3-0-9)
1121 827 การจำลองโมเลกุลและการออกแบบโมเลกุลด้วยคอมพิวเตอร์(Molecular Modeling and Computer Aided Molecular Design) 3(3-0-9)
1121 828 หัวข้อพิเศษทางเคมีเชิงฟิสิกส์ 1(Special Topics in Physical Chemistry I) 3(3-0-9)
1121 829 หัวข้อพิเศษทางเคมีเชิงฟิสิกส์ 2(Special Topics in Physical Chemistry II) 3(3-0-9)
1121 831 เคมีวิเคราะห์เชิงไฟฟ้า (Electrochemical Analysis) 3(3-0-9)
1121 832 หัวข้อพิเศษทางเคมีวิเคราะห์(Special Topics in Analytical Chemistry) 2(2-0-6)
1121 833 เทคนิคการไหลทางเคมีวิเคราะห์(Flow Based Techniques in Analytical Chemistry) 2(2-0-6)
1121 841 วัสดุศาสตร์ (Materials Science) 2(2-0-6)
1121 842 เคมีสถานะของแข็ง (Solid State Chemistry) 2(2-0-6)
1121 843 การเร่งปฏิกิริยา (Catalysis) 2(2-0-6)
1121 844 หัวข้อพิเศษทางเคมีอนินทรีย์(Special Topics in Inorganic Chemistry) 3(3-0-9)
1121 851 การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) 2(2-0-6)

แผนการศึกษา

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วิชาพื้นฐาน 1121 754 ความปลอดภัยทางเคมีและการจัดการความเสี่ยง 2(2-0-6)
วิชาบังคับ 1121 7XX รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ 3(3-0-9)
วิชาบังคับ 1121 7XX รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ 3(3-0-9)
วิชาเลือก 1121 8XX รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก 3(3-0-9)
    รวม 11

ปีที่ ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วิชาพื้นฐาน 1121 751 สัมมนา1 1(0-2-2)
วิชาพื้นฐาน 1121 753 ระเบียบวิธีวิจัยทางเคมี 2(2-0-6)
วิชาบังคับ 1121 7XX รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ 3(3-0-9)
วิชาเลือก 1121 8XX รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก 3(3-0-9)
วิทยานิพนธ์ 1121 700 วิทยานิพนธ์ 2
    รวม 11

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา รหัสวิชา  ชื่อวิชา หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วิชาพื้นฐาน 1121 752 สัมมนา 2 1(0-2-2)
วิทยานิพนธ์ 1121 700 วิทยานิพนธ์ 8
    รวม 9

  ปีที่ 2  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา รหัสวิชา  ชื่อวิชา หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วิทยานิพนธ์ 1121 700 วิทยานิพนธ์ 5
    รวม 5
    หน่วยกิตสะสมรวม 36

เอกสารเพิ่มเติม

  วท_ม_เคมี_หลักสูตรปรับปรุง_พ_ศ__2563.pdf

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

  ผศ.ดร.รักเกียรติ จิตคติ ( ประธานหลักสูตร )

Research Overview

The synthesis and characterization of organometallic materials for optoelectronic and organic synthesis applications

Research Overview

Computational quantum chemistry, Nanomaterials, Nanoparticles

Research Overview

-  Development of sensitive sensor technology particularly in medical diagnostics, biotechnology and environmental analyses

-  Enzyme Biosensors: Enzymes and Enzyme electrodes