ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา 


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Science Education

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ศึกษา)
ชื่อย่อภาษาไทย : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์ศึกษา)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy (Science Education)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : Ph.D. (Science Education)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษา ป เอก วิทย์ศึกษา
- หลักสูตรภาคปกติ (จันทร์ - ศุกร์) ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย 3 ปี x 2 ภาคการศึกษา x 30,000 บาท (ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 180,000 บาท)
- หลักสูตรภาคพิเศษ (เสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ) ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย 3 ปี x 2 ภาคการศึกษา x 35,000 บาท (ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 210,000 บาท)

ความสำคัญ ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ความสำคัญของหลักสูตร

   วิทยาศาสตร์ศึกษาเป็นการบูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์กับวิธีทางการศึกษาที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักวิทยาศาสตร์ศึกษามีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ศึกษาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพและสอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ดังนั้น การผลิตดุษฎีบัณฑิตศักยภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะดุษฎีบัณฑิตกลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่สามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษและสามารถพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเยาวชนให้มีคุณภาพระดับชาติและนานาชาติทั้งด้านความรู้ ทักษะวิทยาศาสตร์ และทักษะจำเป็นสำหรับอนาคต ซึ่งเยาวชนเหล่านี้จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ปรัชญาของหลักสูตร

   มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาที่สามารถสร้างนวัตกรรมและบูรณาการองค์ความรู้ใหม่ด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษาที่มีคุณภาพสูงระดับชาติหรือนานาชาติ มีความเข้าใจเนื้อหาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษาระดับสูงอย่างถูกต้องและสามารถถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว ดุษฎีบัณฑิตมีสมรรถนะ ดังนี้

  1. มีความรู้และทักษะขั้นสูงทั้งด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษาและมีการพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการ วิจัยและวิชาชีพได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างต่อเนื่อง
  2. สร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ศึกษาที่มีคุณภาพสูงระดับชาติหรือนานาชาติ และสร้างองค์ความรู้จากงานวิจัยได้
  3. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสริมการเรียนรู้ร่วมกับนวัตกรรมการเรียนรู้และงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับบริบทในอนาคตได้
  4. จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งความรู้วิทยาศาสตร์และทักษะแห่งอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพและการวิจัย ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเป็นผู้นำ มีทักษะในการทำงานเป็นทีมและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ดุษฎีบัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เช่น ครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาจารย์ในวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษา บุคลากรทางการศึกษา  นักวิชาการศึกษาในสังกัดของรัฐและผู้ประกอบการสถานศึกษาเอกชน เป็นต้น

จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา จัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่แบบ 1.1 และแบบ 2.1 มีจำนวนหน่วยกิจรวมตลอดหลักสูตรในแต่ละแผนการศึกษาไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิตดังนี้

หลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎี สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา เป็นหลักสูตรเต็มเวลา 3 ปี ใช้ระยะเวลาในการศึกษาไม่เกิน 6 ปี
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ดังนี้

แบบ 1.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
แบบ 2.1 จำนวน ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

แบบ 1.1 จำนวน 48 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาเฉพาะ (ไม่นับหน่วยกิต)
1) กลุ่มวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต)

1151 904 สัมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 1
1151 905 สัมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 2

2) กลุ่มวิชาเลือก จำนวน - หน่วยกิต

 

แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

1) กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 8 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาเลือก จำนวน ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต

ข. หมวดวิทยานิพนธ์ จำนวน 36 หน่วยกิต

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มีรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรดังนี้

แบบ 1.1

ก) หมวดวิชาเฉพาะ

1) กลุ่มวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต)

1151 904 สัมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 1
1151 905 สัมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 2

2) กลุ่มวิชาเลือก (ไม่นับหน่วยกิต)

ข) หมวดวิทยานิพนธ์ (Thesis courses) จำนวน 48 หน่วยกิต
1151 991 วิทยานิพนธ์(Thesis) จำนวน 48 หน่วยกิต

 

แบบ 2.1

ก) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

ก1) กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 8 หน่วยกิต

1151901 การวิจัยขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Research in Science Education) 2(1-2-5)
1151902 ระบบการจัดการเรียนรู้สำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Learning Management Systems for Science Learning) 2(1-2-5)
1151903 นวัตกรรม เทคโนโลยีและสื่อมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล (Innovation, Technology and Multimedia for Learning in Digital Era) 2(1-2-5)
1151904 สัมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 1 ( Seminar in Science Education I) 1(0-2-2)
1151905 สัมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 2(Seminar in Science Education II) 1(0-2-2)

ก2) กลุ่มวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต

นักศึกษาเลือลงทะเบียนรายวิชาเลือกตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา เช่น กรณีที่นักศึกษามีผลการสอบคัดเลือกด้านความรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์ต่ำ ควรลงทะเบียนรายวิชาที่เน้นเนื้อหาวิทยาศาสตร์ . สำหรับนักศึกษาที่มีผลการสอบคัดเลือกด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและการวิจัย ต่ำหรือมีผลการสอบด้านความรู้เนื้อหาสูง ควรลงทะเบียนรายวชิาที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและการวิจัยทางวิทยาศษสตร์ศึกษาในกรณีที่นักศึกษามีความรู้พื้นฐานต่ำท้งด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและด้านความรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์ . อาจารย์ที่ปรึกษาอาจจจะพิจารณาให้นักศึกษาลงทะเบียนทั้งรายวิชาที่เน้นเนื้อหาวิทยาศาสตร์และรายวิชาที่เน้นเนื้อหาวิทยาศาสตร์ศึกษาและรายวิชาที่เน้นเนื้อหาวิทยาศาสตร์ศึกษา

กลุ่มวิชาเลือกทางชีววิทยา

1151 921 ชีววิทยาของเซลล์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา(Advanced Cell Biology for Science Educators) 2(1-2-5)
1151 922 ชีววิทยาของพืชขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา(Advanced Plant Biology for Science Educators) 2(1-2-5)
1151 923 ชีววิทยาของสัตว์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา(Advanced Animal Biology for Science Educators) 2(1-2-5)

กลุ่มวิชาเลือกทางเคมี

1151 931 . เคมีอินทรีย์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Organic Chemistry for Science Educators) 2(1-2-5)
1151 932 . เคมีอนินทรีย์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Inorganic Chemistry for Science Educators) 2(1-2-5)
1151 933 เคมีวิเคราะห์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Analytical Chemistry for Science Educators) 2(1-2-5)
1151 934 เคมีเชิงฟิสิกส์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Physical Chemistry for Science Educators) 2(1-2-5)

กลุ่มวิชาเลือกทางฟิสิกส์

1151 941 กลศาสตร์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Mechanics for Science Educators) 2(1-2-5)
1151 942 แม่เหล็กไฟฟ้าขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Electormagnetism for Science Educators) 2(1-2-5)
1151 943 กลศาสตร์ควอนตัมขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Quantum Mechanics for Science Educators) 2(1-2-5)
1151 944 ฟิสิกส์ดาราศาสตร์สำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Astrophysics for Science Educators) 2(1-2-5)

กลุ่มวิชาเลือกทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

1151 951 ระบบการสอนแบบชาญฉลาดในการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Intelligent Tutoring Systems in Electronic Learning) 2(1-2-5)
1151 952 เทคโนโลยีบนฐานคอมพิวเตอร์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Computer-Based Technology for Science Educators) 2(1-2-5)
1151 953 การทำเหมืองข้อมูลทางการศึกษา (Educational Data Mining) 2(1-2-5)
ข) หมวดวิทยานิพนธ์ (Thesis courses) จำนวน 36 หน่วยกิต
1151 992 วิทยานิพนธ์(Thesis) จำนวน 36 หน่วยกิต
แผนการศึกษา

1) แบบ 1.1

ปีที่ 1 (First Year)
ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาแกน 1151 904 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 1(Seminar in Science Education I) ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิทยานิพนธ์ 1151 991 วิทยานิพนธ์(Thesis) 8
รวม 8
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาแกน 1151 905 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 2(Seminar in Science Education II) ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิทยานิพนธ์ 1151 991 วิทยานิพนธ์(Thesis) 8
รวม 8

หมายเหตุ: นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ(Qualifying Examination; QE) ของนักศึกษาระดับปริญญาเอกภายใน 1 ภาคการศึกษา

ปีที่ 2 (Second Year)

ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วิทยานิพนธ์ 1151 991 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 8 หน่วยกิต
รวม 8 หน่วยกิต
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วิทยานิพนธ์ 1151 991 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 8 หน่วยกิต
รวม 8 หน่วยกิต

ปีที่ 3 (Third Year)

ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วิทยานิพนธ์ 1151 991 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 8 หน่วยกิต
รวม 8 หน่วยกิต
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วิทยานิพนธ์ 1151 991 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 8 หน่วยกิต
รวม 8 หน่วยกิต

หมายเหตุ : นักศึกษาต้องสอบผ่านการประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาเอกตามประกาศของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก่อนสำเร็จการศึกษา

 

2) แบบ 2.1

ปีที่ 1 (First Year)
ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาบังคับ 1151 901 การวิจัยขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์ศึกษา(Advanced Research in Science Education) 2(1-2-5)
1151 902 กระบบการจัดการเรียนรู้สำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Learning Management Systems for Science Learning) 2(1-2-5)
1151 904 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 1 (Seminar in Science Education I) 1(0-2-2)
รวม 5
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาบังคับ 1151 903 นวัตกรรม เทคโนโลยีและสื่อมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล (Innovation, Technology and Multimedia for Learning in Digital Era) 2(1-2-5)
  1151 905 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 2(Seminar in Science Education II) 1(0-2-2)
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเลือก 1151 9XX ..... ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced .......... for Science Educators) 2(1-2-5)
  1151 9XX ..... ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced .......... for Science Educators) 2(1-2-5)
  รวม 7

หมายเหตุ: นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination; QE) ของนักศึกษาระดับปริญญาเอกภายใน 1 ปีการศึกษา

ปีที่ 2 (Second Year)

ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
หมวดวิทยานิพนธ์ 1151 992 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 9 หน่วยกิต
  รวม 9 หน่วยกิต
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
หมวดวิทยานิพนธ์ 1151 992 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 9 หน่วยกิต
  รวม 9 หน่วยกิต

ปีที่ 3 (Third Year)

ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วิทยานิพนธ์ 1151 992 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 9 หน่วยกิต
รวม 9 หน่วยกิต
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วิทยานิพนธ์ 1151 992 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 9 หน่วยกิต
รวม 9 หน่วยกิต

หมายเหตุ : นักศึกษาต้องสอบผ่านการประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาเอกตามประกาศของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก่อนสำเร็จการศึกษา

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

  รศ.ดร.สุระ วุฒิพรหม ( ประธานหลักสูตร )

Research Overview

1)      การส่งเสริมศักยภาพครูฟิสิกส์ (Capacity Enhancement for Physics Teachers) แหล่งทุน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์, ปีงบประมาณ 2559-2561 

2)      กิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสำหรับครูคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีงบประมาณ 2560 

Research Overview
  1. Development and evaluation of multimedia learning tools (simulation, animation, web-based learning) in chemistry and science
  2. Effect of multimedia learning on student understanding and concept
  3. Development and evaluation of experimental kits for high school and undergraduate chemistry

ORCID iD:

Research Overview

Porous materials: Synthesis, modification, and application
Catalysis