ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี 


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Chemistry

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เคมี)
ชื่อย่อภาษาไทย : ปร.ด.(เคมี)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy (Chemistry)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : Ph.D.(Chemistry)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 30,000 บาท (ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 180,000 บาท)

ความสำคัญ ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ความสำคัญของหลักสูตร

การพัฒนาประเทศเพื่อให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ที่ดีและยั่งยืน นอกจากจะต้องเร่งพัฒนาคนแล้ว ยังต้องส่งเสริมความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพสูงสุดและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริงแล้ว จำเป็นต้องสร้าง พัฒนาและสนับสนุนบุคคลากรทางวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถขึ้นมา ด้วยความจำเป็นดังกล่าว ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านเคมี เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาประเทศและรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้นจึงได้เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี เพื่อรองรับการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการและการวิจัยระดับสูงในสาขาวิชาเคมี สามารถค้นคว้า ริเริ่มและสร้างสรรค์ให้เกิดองค์ความรู้และผลงานวิจัย รู้จักคิดวิเคราะห์ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้สร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศได้

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี มุ่งเน้นผลิตนักวิชาการและนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาเคมี สามารถสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ทางเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และวางแผนได้อย่างเป็นระบบ มีคุณธรรมในการดำรงชีวิต สามารถพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างศักยภาพของตนเองและสังคม และสนองตอบความต้องการด้านกำลังคนทางวิทยาศาสตร์ของประเทศ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตจะมีความรู้ความสามารถ ดังนี้

  1. มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานทางวิชาการและการวิจัย
  2. สร้างนวัตกรรม องค์ความรู้ใหม่ และบูรณาการความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อค้นคว้าวิจัยและสร้างนวัตกรรมขั้นสูง ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านเคมี
  3. มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของตนเอง และประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม
  4. คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางเคมีอย่างเป็นระบบและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อเพื่อนร่วมงาน เป็นผู้นำ ทำงานเป็นทีมได้ และมีความรับผิดชอบต่อสภาวะแวดล้อม
  6. สื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและทันสมัย
  7. มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถประกอบอาชีพได้ในสาขาต่างๆ นักวิชาการ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ รับราชการในภาครัฐหรือทำงานวิจัยระดับสูงในภาคอุตสาหกรรม หรือเป็นผู้ประกอบการอิสระ เช่น ดำเนินกิจการที่ต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูงทางเคมี ดำเนินกิจการด้านการออกแบบ ผลิตและจำหน่ายชิ้นงานนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางเคมี ผลงานต้นแบบหรือสารสำคัญสำหรับผสมในผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพจากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้สำหรับการวัดลักษณะเซนเซอร์และชุดทดสอบ และต้นแบบผลิตภัณฑ์สารตัวเร่งปฏิกิริยาใหม่ ๆ ระดับอุตสาหกรรม ต้นแบบนวัตกรรมด้านแหล่งพลังงานใหม่ ๆ เป็นต้น

จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี เป็นหลักสูตรเต็มเวลา ใช้ระยะเวลาในการศึกษาดังนี้

หลักสูตร

ระยะเวลาในการศึกษา (ปี)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี แบบ 1.1 3 ปีการศึกษาและไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี แบบ 2.1 3 ปีการศึกษาและไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี แบบ 2.2 4 ปีการศึกษาและไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ดังนี้

แบบ 1.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แบบ 2.2 ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2558 มีโครงสร้างหลักสูตรดังนี้

1) แบบ 1.1
ก. หมวดวิชาเฉพาะ    
1) กลุ่มวิชาพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) จำนวน 4* หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน - หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก จำนวน - หน่วยกิต
ค. หมวดวิทยานิพนธ์ จำนวน 48 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร จำนวน 48 หน่วยกิต

หมายเหตุ * เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนเพิ่มเติม ไม่นำมานับหน่วยกิต และสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากสถาบันอื่นอาจจำเป็นต้องลงทะเบียนเรียนบางวิชาเพิ่มเติมจากหน่วยกิตที่กำหนดตามดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษา และ/หรือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร

1) แบบ 2.1
ก. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 7 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) จำนวน 4 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 3 หน่วยกิต
ข.หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต
ค.หมวดวิทยานิพนธ์ จำนวน 36 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

หมายเหตุ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากสถาบันอื่นอาจจำเป็นต้องลงทะเบียนเรียนบางวิชาเพิ่มเติมจากหน่วยกิตที่กำหนดตามดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษา และ/หรือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร

1) แบบ 2.2
ก. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 17 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) จำนวน 8 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 9 หน่วยกิต
ข.หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 7 หน่วยกิต
ค.หมวดวิทยานิพนธ์ จำนวน 48 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรแบบ 1.1

ก.หมวดวิชาเฉพาะ

1) กลุ่มวิชาพื้นฐาน

1121 961 สัมมนา 3 (Seminar III)* 1(0-2-2)
1121 962 สัมมนา 4 (Seminar IV)* 1(0-2-2)
1121 963 โครงร่างการวิจัยทางเคมี(Research Proposal in Chemistry)* 2(2-0-6)

หมายเหตุ * เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนเพิ่มเติม ไม่นำมานับหน่วยกิต

2) กลุ่มวิชาบังคับ ไม่มี
ข.หมวดวิชาเลือก (Electives) ไม่มี
ค.หมวดวิทยานิพนธ์ (Thesis) จำนวน 48 หน่วยกิต

1121 901 วิทยานิพนธ์ (Thesis) จำนวน 48 หน่วยกิต

หลักสูตรแบบ 2.1

ก.หมวดวิชาเฉพาะ

1) กลุ่มวิชาพื้นฐาน จำนวน 4 หน่วยกิต

1121 961 สัมมนา 3 (Seminar III) 1(0-2-2)
1121 962 สัมมนา 4 (Seminar IV) 1(0-2-2)
1121 963 โครงร่างการวิจัยทางเคมี (Research Proposal in Chemistry) 2(2-0-6)

2) กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 3 หน่วยกิต
ให้นักศึกษาเลือกเรียนจากรายวิชาต่อไปนี้ 1 รายวิชา จำนวน 3 หน่วยกิต

1121 911 อินทรีย์สังเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Organic Synthesis) 3(3-0-9)
1121 921 ความรอบรู้ทางเคมีเชิงฟิสิกส์ (Comprehensive Physical Chemistry) 3(3-0-9)
1121 922 เคมีพอลิเมอร์ขั้นสูง (Advanced Polymer Chemistry) 3(3-0-9)
1121 931 เซนเซอร์และการใช้งาน (Sensors and their Applications) 3(3-0-9)
1121 941 วิธีทางกายภาพในเคมีอนินทรีย์(Physical Methods in Inorganic Chemistry) 3(3-0-9)
ข. หมวดวิชาเลือก (Electives) ไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต

ให้นักศึกษาเลือกเรียนจากรายวิชาต่อไปนี้ รวมกันไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต

1121 971 การสังเคราะห์ด้วยออร์แกโนเมททัลลิก(Organometallics in Synthesis) 3(3-0-9)
1121 972 งานวิจัยปัจจุบันทางเคมีวิเคราะห์(Current Research in Analytical Chemistry) 3(3-0-9)
1121 973 เทคโนโลยีระดับนาโน (Nanotechnology) 3(3-0-9)
1121 974 งานวิจัยแนวหน้าทางเคมีเชิงฟิสิกส์(Frontier Research in Physical Chemistry) 3(3-0-9)
1121 975 หัวข้อพิเศษทางเคมีพอลิเมอร์และยาง(Special Topics in Polymer and Rubber Chemistry) 2(2-0-6)

หลักสูตรแบบ 2.2

ก. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 17 หน่วยกิต

1) กลุ่มวิชาพื้นฐาน จำนวน 8 หน่วยกิต

1121 751 สัมมนา 1 (Seminar I) 1(0-2-2)
1121 752 สัมมนา 2 (Seminar II) 1(0-2-2)
1121 754 ความปลอดภัยทางเคมีและการจัดการความเสี่ยง(Chemical Safety and Risk Management) 2(2-0-6)
1121 961 สัมมนา 3 (Seminar III) 1(0-2-2)
1121 962 สัมมนา 4 (Seminar IV) 1(0-2-2)
1121 963 โครงร่างการวิจัยทางเคมี (Research Proposal in Chemistry) 2(2-0-6)

2) กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 9 หน่วยกิต

ให้นักศึกษาเลือกเรียนรายวิชาจากกลุ่มวิชาเดียวกัน จำนวน 6 หน่วยกิต
2.1) กลุ่มวิชาเคมีอินทรีย์

1121 711 เคมีอินทรีย์ขั้นสูง (Advanced Organic Chemistry) 3(3-0-9)
1121 712 ปฏิกิริยาทันสมัยในอินทรีย์สังเคราะห์ (Modern Organic Synthetic Reactions) 3(3-0-9)
1121 713 สเปกโทรสโกปีขั้นสูงในเคมีอินทรีย์(Advanced Spectroscopy in Organic Chemistry) 3(3-0-9)
1121 714 เคมีของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ(Chemistry of Natural Products) 3(3-0-9)

2.2) กลุ่มวิชาเคมีเชิงฟิสิกส์

(Mathematical Methods for Physical Chemistry)

1121 721 กลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) 3(3-0-9)
1121 722 เคมีเชิงฟิสิกส์ขั้นสูง 1 (Advanced Physical Chemistry I) 3(3-0-9)
1121 723 เคมีเชิงฟิสิกส์ขั้นสูง 2 (Advanced Physical Chemistry II) 3(3-0-9)
1121 724 วิธีทางคณิตศาสตร์สำหรับเคมีเชิงฟิสิกส์ 3(3-0-9)

2.3) กลุ่มวิชาเคมีวิเคราะห์

1121 731 เทคนิคทางเคมีวิเคราะห์ (Techniques in Analytical Chemistry) 3(3-0-9)
1121 732 วิธีทางสเปกโทรสโกปีขั้นสูงสำหรับการวิเคราะห์ทางเคมี(Advanced Spectroscopic Methods for Chemical Analysis) 3(3-0-9)
1121 733 เทคนิคการแยกขั้นสูง (Advanced Separation Techniques) 3(3-0-9)
1121 734 การออกแบบวิธีวิเคราะห์เพื่องานวิจัย(Design of Analytical Method for Research) 3(3-0-9)

2.4) กลุ่มวิชาเคมีอนินทรีย์

1121 741 เคมีอนินทรีย์ขั้นสูง 1 (Advanced Inorganic Chemistry I) 3(3-0-9)
1121 742 เคมีอนินทรีย์ขั้นสูง 2 (Advanced Inorganic Chemistry II) 3(3-0-9)
1121 743 เคมีของสารออร์แกโนเมททัลลิก(Chemistry of Organometallic Compounds) 3(3-0-9)

และให้นักศึกษาเลือกเรียนจากรายวิชาต่อไปนี้ 1 รายวิชา จำนวน 3 หน่วยกิต

1121 911 อินทรีย์สังเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Organic Synthesis) 3(3-0-9)
1121 921 ความรอบรู้ทางเคมีเชิงฟิสิกส์ (Comprehensive Physical Chemistry) 3(3-0-9)
1121 922 เคมีพอลิเมอร์ขั้นสูง (Advanced Polymer Chemistry) 3(3-0-9)
1121 931 เซนเซอร์และการใช้งาน (Sensors and their Applications) 3(3-0-9)
1121 941 วิธีทางกายภาพในเคมีอนินทรีย์(Physical Methods in Inorganic Chemistry) 3(3-0-9)
ข. หมวดวิชาเลือก (Electives) ไม่น้อยกว่า 7 หน่วยกิต

ให้นักศึกษาเลือกเรียนจากรายวิชาต่อไปนี้ ไม่น้อยกว่า 2 หน่วยกิต

1121 811 เคมีของสารเฮทเทอโรไซคลิก (Heterocyclic Chemistry) 2(2-0-6)
1121 812 ปฏิกิริยาเพอริไซคลิก (Pericyclic Reaction) 2(2-0-6)
1121 813 หัวข้อพิเศษทางเคมีอินทรีย์ 1(Special Topics in Organic Chemistry I) 2(2-0-6)
1121 814 หัวข้อพิเศษทางเคมีอินทรีย์ 2(Special Topics in Organic Chemistry II) 2(2-0-6)
1121 821 ทฤษฎีกลุ่มและหลักการสมมาตร(Group Theory and Symmetry Principles) 3(3-0-9)
1121 822 เคมีเชิงฟิสิกส์ของพอลิเมอร์ (Physical Chemistry of Polymers) 3(3-0-9)
1121 823 นาโนเทคโนโลยีและเส้นใยนาโนพอลิเมอร์(Nanotechnology and Polymer Nanofibers) 2(2-0-6)
1121 824 พอลิเมอร์ผสมและพอลิเมอร์นาโนคอมพอสิท(Polymer Blends and Polymer Nanocomposites) 2(2-0-6)
1121 825 เคมีไฟฟ้าในเคมีเชิงฟิสิกส์(Electrochemistry in Physical Chemistry) 3(3-0-9)
1121 826 เคมีคำนวณขั้นสูง (Advanced Computational Chemistry) 3(3-0-9)
1121 827 การจำลองโมเลกุลและการออกแบบโมเลกุลด้วยคอมพิวเตอร์(Molecular Modeling and Computer Aided Molecular Design) 3(3-0-9)
1121 828 หัวข้อพิเศษทางเคมีเชิงฟิสิกส์ 1(Special Topics in Physical Chemistry I) 3(3-0-9)
1121 829 หัวข้อพิเศษทางเคมีเชิงฟิสิกส์ 2(Special Topics in Physical Chemistry II) 3(3-0-9)
1121 831 เคมีวิเคราะห์เชิงไฟฟ้า (Electrochemical Analysis) 3(3-0-9)
1121 832 หัวข้อพิเศษทางเคมีวิเคราะห์(Special Topics in Analytical Chemistry) 2(2-0-6)
1121 833 เทคนิคการไหลทางเคมีวิเคราะห์(Flow Based Techniques in Analytical Chemistry) 2(2-0-6)
1121 841 วัสดุศาสตร์ (Materials Science) 2(2-0-6)
1121 842 เคมีสถานะของแข็ง (Solid State Chemistry) 2(2-0-6)
1121 843 การเร่งปฏิกิริยา (Catalysis) 2(2-0-6)
1121 844 หัวข้อพิเศษทางเคมีอนินทรีย์(Special Topics in Inorganic Chemistry) 3(3-0-9)
1121 851 การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) 2(2-0-6)

และให้นักศึกษาเลือกเรียนจากรายวิชาต่อไปนี้ รวมกันไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต

1121 971 การสังเคราะห์ด้วยออร์แกโนเมททัลลิก(Organometallics in Synthesis) 3(3-0-9)
1121 972 งานวิจัยปัจจุบันทางเคมีวิเคราะห์(Current Research in Analytical Chemistry) 3(3-0-9)
1121 973 เทคโนโลยีระดับนาโน (Nanotechnology) 3(3-0-9)
1121 974 งานวิจัยแนวหน้าทางเคมีเชิงฟิสิกส์(Frontier Research in Physical Chemistry) 3(3-0-9)
1121 975 หัวข้อพิเศษทางเคมีพอลิเมอร์และยาง(Special Topics in Polymer and Rubber Chemistry) 2(2-0-6)
แผนการศึกษา

1) แบบ 1.1

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิชาพื้นฐาน

1121 963

โครงร่างการวิจัยทางเคมี

ไม่นับหน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

1121 901

วิทยานิพนธ์

9

 

 

รวม 

9

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิชาพื้นฐาน  

1121 961

สัมมนา 1*

ไม่นับหน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

1121 901

วิทยานิพนธ์

9

 

 

รวม

9

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิชาพื้นฐาน

1121 962

สัมมนา 2*

ไม่นับหน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

1121 901

วิทยานิพนธ์

9

 

 

รวม

9

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิทยานิพนธ์

1121 901

วิทยานิพนธ์

9

 

 

รวม

9

ปีที่ 3  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิทยานิพนธ์

1121 901

วิทยานิพนธ์

9

 

 

รวม

9

ปีที่ 3  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิทยานิพนธ์

1121 901

วิทยานิพนธ์

3

 

 

รวม

3

 

 

หน่วยกิตสะสมรวม

48

2) แบบ 2.1

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิชาบังคับ

1121 9XX

รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ

3(3-0-9)

วิชาเลือก

1121 9XX

รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก

3(3-0-9)

 

 

รวม

6

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิชาพื้นฐาน

1121 961

สัมมนา 1

1(0-2-2) 

วิชาพื้นฐาน

1121 963

โครงร่างการวิจัยทางเคมี

2(2-0-6)

วิทยานิพนธ์

1121 902

วิทยานิพนธ์

5

 

 

รวม

8

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิชาพื้นฐาน

1121 962

สัมมนา 2

1(0-2-2)

วิชาเลือก

1121 9XX

รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก

2(2-0-6)

วิทยานิพนธ์

1121 902

วิทยานิพนธ์

6

 

 

รวม

9

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิทยานิพนธ์

1121 902

วิทยานิพนธ์

10

 

 

รวม

10

ปีที่ 3  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิทยานิพนธ์

1121 902

วิทยานิพนธ์

10

 

 

รวม

10

ปีที่ 3  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิทยานิพนธ์

1121 902

วิทยานิพนธ์

5

 

 

รวม

5

 

 

หน่วยกิตสะสมรวม

48

3) แบบ 2.2

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิชาพื้นฐาน

1121 754

ความปลอดภัยทางเคมีและการจัดการความเสี่ยง

2(2-0-6)

วิชาบังคับ

1121 7XX

รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ

3(3-0-9)

วิชาบังคับ

1121 7XX

รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ

3(3-0-9)

 

 

รวม

8

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิชาบังคับ

1121 9XX

รายวิชาในกลุ่มวิชาบังคับ

3(3-0-9)

วิชาเลือก

1121 9XX

รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก

3(3-0-9)

วิชาเลือก

1121 8XX

รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก

2(2-0-6)

 

 

รวม

8

 

 

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิชาพื้นฐาน

1121 751

สัมมนา 1

1(0-2-2)

วิชาพื้นฐาน

1121 963

โครงร่างการวิจัยทางเคมี

2(2-0-6)

วิชาเลือก

1121 9XX

รายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก

2(2-0-6)

วิทยานิพนธ์

1121 903

วิทยานิพนธ์

2

 

 

รวม

7

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิชาพื้นฐาน

1121 752

สัมมนา 2

1(0-2-2)

วิทยานิพนธ์

1121 903

วิทยานิพนธ์

9

 

 

รวม

10

 

ปีที่ 3  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิชาพื้นฐาน

1121 961

สัมมนา 3

1(0-2-2)

วิทยานิพนธ์

1121 903

วิทยานิพนธ์

10

 

 

รวม

11

ปีที่ 3  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิชาพื้นฐาน

1121 962

สัมมนา 4

1(0-2-2)

วิทยานิพนธ์

1121 903

วิทยานิพนธ์

10

 

 

รวม

11

ปีที่ 4  ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิทยานิพนธ์

1121 903

วิทยานิพนธ์

10

 

 

รวม

10

ปีที่ 4  ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

วิทยานิพนธ์

1121 903

วิทยานิพนธ์

7

 

 

รวม

7

 

 

หน่วยกิตสะสมรวม

72

 

 

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

  รศ.ดร.มะลิวรรณ อมตธงไชย ( ประธานหลักสูตร )

Research Overview
  • Molecularly imprinted polymer based chemical sensors for biomarkers and food analysis.

  • Development of sensitive and selective nanomaterials-based sensors or biosensors for high performance analysis in food and clinical samples.

  • Flow-based techniques for chemical analysis and automation (flow injection analysis, lab-on-a-chip and  micro paper-based analytical devices or µPAD).
Research Overview

Computational Chemistry, Catalytic reactivity of nanomaterials

Research Overview

Materials Science วัสดุศาสตร์
Nanomaterials วัสดุนาโน
Catalysis การเร่งปฏิกิริยา
Chemical Education เคมีศึกษา