วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล 


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล
ภาษาอังกฤษ : Master of Science in Information Technology and Digital Innovation

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Science (Information Technology and Digital Innovation)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M.Sc.(Information Technology & Digital Innovation)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 35,000 บาท (ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 140,000 บาท)

ความสำคัญ ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ความสำคัญของหลักสูตร

     ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ สังคม และด้านการศึกษา บุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นตัวกลางที่สำคัญในการนำระบบสารสนเทศมาพัฒนาองค์กรให้มีความทันสมัย และสามารถบริหารจัดการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรนี้จึงมีความสำคัญและความจำเป็นสำหรับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอย่างมาก ในการผลิตบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาองค์กรและประเทศชาติ

ปรัชญาของหลักสูตร

   มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ และการวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับศาสตร์ด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของตนเอง รวมทั้งให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพ ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคม

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว มหาบัณฑิตจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 

  1.  มีความรู้ด้านวิชาการ และสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยและการทำงานในวิชาชีพได้
  2. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และประเทศชาติ
  3. มีทักษะในการทำงานเป็นทีม เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตาม
  4. มีความสามารถในการพัฒนาตนเองในด้านวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง และมีทักษะในการใช้ภาษาและสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
  5. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพ ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคม

 

 

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศ 
  2. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ 
  3. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล 
  4. อาจารย์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 
  5. ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร 
  6. ผู้จัดการระบบสารสนเทศขององค์กร 
  7. ผู้ดูแลระบบเครือข่ายผู้จัดการแผนก หรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร 
  8. ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่องค์กรต่างๆ 
  9. ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 
จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหลักสูตรเต็มเวลาใช้ระยะเวลาในการศึกษา 2 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 5 ปีการศึกษา 

3.1 หลักสูตร

3.1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ดังนี้ 

1) แผน ก

แผน ก แบบ ก 1     ไม่น้อยกว่า 36  หน่วยกิต

แผน ก แบบ ก 2     ไม่น้อยกว่า 36  หน่วยกิต

2) แผน ข        ไม่น้อยกว่า 36  หน่วยกิต

3.1.2  โครงสร้างหลักสูตร  ดังนี้  

หมวดวิชา

จำนวนหน่วยกิต

แผน ก แบบ ก 1

แผน ก แบบ ก 2

แผน ข

1. หมวดวิชาเฉพาะ
   1.1
กลุ่มวิชาพื้นฐาน 

   1.2 กลุ่มวิชาบังคับ   

   1.3 กลุ่มวิชาเลือก    ไม่น้อยกว่า

 

-

-

-

 

9

6

9

 

9

6

15

2. หมวดวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ

36

12

6

จำนวนหน่วยกิตรวม   ไม่น้อยกว่า

36 หน่วยกิต

36 หน่วยกิต

36 หน่วยกิต

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มีรายวิชาตามโครงสร้าง

หลักสูตร ดังนี้ 

1. หมวดวิชาเฉพาะ

1.1 กลุ่มวิชาพื้นฐาน

แผน ก แบบ ก 1 จำนวน 3 หน่วยกิต*

1143 711 สัมมนา 1* (Seminar I) 1(1-0-3)

1143 712 สัมมนา 2* (Seminar II) 1(1-0-3)

1143 713 สัมมนา 3* (Seminar III) 1(1-0-3)

 

แผน ก แบบ ก 2 จำนวน 9 หน่วยกิต

แผน ข จำนวน 9 หน่วยกิต

1143 700 ระบบฐานข้อมูลขั้นสูง (Advanced Database System) 3(3-0-9)

1143 701 การออกแบบและวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี (Design and Analysis of Algorithms) 3(2-2-8)

1143 710 วิธีวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 3(3-0-9)

(Research Methods in Information Technology)

1143 711 สัมมนา 1* (Seminar I) 1(1-0-3)

1143 712 สัมมนา 2* (Seminar II) 1(1-0-3)

1143 713 สัมมนา 3* (Seminar III) 1(1-0-3)

หมายเหตุ * เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นำมานับหน่วยกิต 

 

1.2 กลุ่มวิชาบังคับ

แผน ก แบบ ก 2 จำนวน 6 หน่วยกิต

แผน ข จำนวน 6 หน่วยกิต

1143 720 การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ 3(3-0-9)

(Analysis and Design of Information System)

1143 721 เทคโนโลยีระบบเครือข่าย (Network Technology) 3(2-2-8)

 

1.3 กลุ่มวิชาเลือก

แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต

แผน ข ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต

1143 730 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 3(3-0-9)

(Information Technology Management)

 1143 731 ระบบอัจฉริยะ (Intelligent System) 3(3-0-9)

1143 732 วิทยาการข้อมูล (Data Science) 3(3-0-9)

1143 733 การค้นพบองค์ความรู้และการทำเหมืองข้อมูล 3(2-2-8)

(Knowledge Discovery and Data Mining)

1143 734 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบผู้เชี่ยวชาญ 3(3-0-9)

(Decision Support Systems and Expert Systems)

1143 735 ระบบการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ 3(3-0-9)

(Information Storage and Retrieval Systems)

1143 736 การจัดการความมั่นคงทางสารสนเทศ (Information Security Management) 3(3-0-9)

1143 737 ระบบปฏิสัมพันธ์อัจฉริยะ (Interactive Intelligent Systems) 3(2-2-8)

1143 738 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กราฟิกส์และมัลติมีเดีย 3(3-0-9)

(Computer Graphics and Multimedia Technology)

1143 739 การประมวลผลภาพและคอมพิวเตอร์วิทัศน์ 3(2-2-8)

(Image Processing and Computer Vision)

1143 740 เกมมิฟิเคชัน (Gamification) 3(3-0-9)

1143 741 เทคโนโลยีระบบการจัดการเรียนรู้ 3(3-0-9)

(Learning Management System Technologies)

1143 742 การประมวลผลคำพูดและภาษา (Speech and Language Processing) 3(3-0-9)

1143 743 หัวข้อคัดสรรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3(3-0-9)

(Selected Topics in Information Technology)

 

 

แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 (First Year)

ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา รหัสและชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
แผน ก
แบบ ก1
แผน ก
แบบ ก2
แผน ข
วิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาพื้นฐาน 1143 710 วิธีวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Research Methods in Information Technology)
- 3(3-0-9) 3(3-0-9)
วิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาบังคับ 1143 720 การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
(Analysis and Design of Information System)
- 3(3-0-9) 3(3-0-9)
1143 721 เทคโนโลยีระบบเครือข่าย
(Network Technology)
- 3(2-2-8) 3(2-2-8)
วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ 1143 790 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 6 - -
รวม 6 9 9
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา รหัสและชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
แผน ก
แบบ ก1
แผน ก
แบบ ก2
แผน ข
วิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชาพื้นฐาน
1143 700 ระบบฐานข้อมูลขั้นสูง
(Advanced Database System)
- 3(3-0-9) 3(3-0-9)
1143 701 การออกแบบและวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี
(Design and Analysis of Algorithms)
- 3(2-2-8) 3(2-2-8)
1143 711 สัมมนา 1 (Seminar I) *1(1-0-3) *1(1-0-3) *1(1-0-3)
วิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชาเลือก
1143 7xx รายวิชาเลือก - 3 3
วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ 1143 790 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 6 - -
รวม 6 9 9

* เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นำมานับหน่วยกิต

ชั้นปีที่ 2 (First Year)

ภาคการศึกษาต้น (First Semester)

1143 7xx รายวิชาเลือก

หมวดวิชา รหัสและชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
แผน ก
แบบ ก1
แผน ก
แบบ ก2
แผน ข
วิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชาพื้นฐาน
1143 712 สัมมนา 2 (Seminar II) *1(1-0-3) *1(1-0-3) *1(1-0-3)
วิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชาเลือก
- 6 6
วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ 1143 790 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 12 - -
1143 791 วิทยานิพนธ์ (Thesis) - 6 -
1143 792 การค้นคว้าอิสระ(Independent Study) - - 3
รวม 12 12 9

* เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นำมานับหน่วยกิต

ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา รหัสและชื่อวิชา หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
แผน ก
แบบ ก1
แผน ก
แบบ ก2
แผน ข
วิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชาพื้นฐาน
1143 713 สัมมนา 3 (Seminar III) *1(1-0-3) *1(1-0-3) *1(1-0-3)
วิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชาเลือก
1143 7xx รายวิชาเลือก - - 6
วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ 1143 790 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 12 - -
1143 791 วิทยานิพนธ์ (Thesis) - 6 -
1143 792 การค้นคว้าอิสระ(Independent Study) - - 3
รวม 12 12 9

หมายเหตุ * เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นำมานับหน่วยกิต

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

  ผศ.ดร.วงกต ศรีอุไร ( ประธานหลักสูตร )

Research Overview

- Machine Learning, Data & Text Mining

- Artificial Intelligence

- Recommender System

- Decision Support Systems

- Information Retrieval

Research Overview

Innovations for Learning Management, Computer-Enhanced Learning, Technology-Enhanced Learning, Computers in Education, Automated Natural Language Processing (NLP), Machine Translation, Data and Text Mining

Research Overview
  1. โครงการ "การตรวจสอบเมล็ดข้าวสารเจ้าปนในข้าวสารเหนียวด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ" ระยะเวลาโครงการ
    01 เมษายน 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 แหล่งเงินทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  2. โครงการ "การพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตรสมรรถนะสูง" ระยะเวลาโครงการ 17 กรกฎาคม - 17 ตุลาคม 2560 โครงการวิจัย ...